สร้างเว็บEngine by iGetWeb.com
Cart รายการสินค้า (0)

เรื่องบ้านบ้าน

เรื่องบ้านบ้าน

     อย่างแรกที่เรามักผมเห็นได้ง่ายเลยคือ บ้านพักอาศัยประเภทตึกแถว หรือที่เรียกกันอย่างเป็นทางการว่าอาคารพาณิชย์ มักจะมีพื้นยื่น หรือชานพักออกมาซึ่งจะอยู่ภายนอกบ้านสัมผัสกับสภาพแวดล้อมภายนอก “ลองกลับไปตรวจสอบดูแลพื้นยื่นบ้านเราหน่อยไหมครับ ?”

     สิ่งที่พวกเรามักจะพบเห็นเลย คือ รอยร้าวที่เกิดขึ้นบริเวณท้องพื้น ทำให้เราได้เห็นเหล็กเสริม ออกมาเป็นซี่ๆ คล้ายโครงกระดูกใต้ผิวหนังของคนเรา การเห็นเหล็กเสริมนี้เองครับ ทำให้วิศวกรโครงสร้างแยกปัญหาหลักๆ ได้ 2 ประเด็น คือ

     1) ระยะคอนกรีตหุ้มเหล็กเสริม (concrete covering) ที่มีอยู่มีความหนาต่ำกว่ามาตรฐาน (ทางสมาคมวิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ได้กำหนดมาตรฐานสำหรับคอนกรีตหล่อในที่สำหรับคอนกรีตที่สัมผัสกับดิน หรือถูกแดดฝน สำหรับเหล็กเสริมที่มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางน้อยกว่า หรือเท่ากับ 16 ม.ม. ไว้ที่ 4 ซ.ม.) เมื่อคอนกรีตที่หุ้มเหล็กอยู่บางกว่าที่ควรจะเป็น เมื่อระยะเวลาผ่านไปทำให้คอนกรีตกะเทาะออก จนเหล็กเสริมจึงโผล่ออกมาให้เห็น

     2) ตำแหน่งการเสริมเหล็กผิด ประเด็นนี้อาจลงรายละเอียดทางวิศวกรรมเสียหน่อย คือ พฤติกรรมการรับน้ำหนักของพื้นยื่น ทำให้เกิดโมเมนต์ดัดขึ้นกับตัวโครงสร้างพื้นเป็นลักษณะโมเมนต์ลบ หมายถึงเกิดการดัดตัวในทิศทางโก่งลง ตำแหน่งเหล็กเสริมหลักจะต้องอยู่ตำแหน่งบน การที่ปูนกะเทาะออกบริเวณท้องพื้นระยะความลึกเพียงเล็กน้อยแล้วเห็นผิวเหล็กจึงอาจมีปัญหาเรื่องตำแหน่งเหล็กเสริมของพื้นผิด

     หากพบแล้วว่าท้องพื้นยื่นของบ้านเรามีรอยร้าวใต้ท้องพื้นจนเห็นเหล็กเสริม ก็ควรซ่อมรอยร้าวที่เกิดขึ้นทันทีเพราะหากปล่อยไว้เป็นระยะเวลานาน อ๊อกซิเจนจะเข้าไปทำาปฏิกิริยากับเหล็กเสริมจนทำให้เหล็กเสริมเกิดสนิม จนทำาให้พื้นเสียหายเพิ่มขึ้นไปเรื่อยๆ เราจึงต้องหยุดสาเหตุของปัญหาเสียแต่เนิ่นๆ วิธีการซ่อมก็ทำได้โดยการขัดสนิมที่ผิวเหล็กเสริมที่โผล่ออกมาจากคอนกรีตเสียก่อน จากนั้นจึงนำปูนซ่อมโครงสร้างชนิดไม่ยืดหดตัว (Non shrinkage grout) มาผสมน้ำตามคำแนะนำของผู้ผลิตมาฉาบปิดผิว หรือจะนำวัสดุอีพ็อกซี่สำหรับซ่อมโครงสร้างมาปิดผิวก็ได้

     ลำดับต่อมาก็คือเรื่อง “เหล็กดัด ประตูหน้าต่าง” สำหรับหน้าที่ของเหล็กดัดที่ใส่ไว้ตามช่องเปิดรอบๆ บ้านทั้งหน้าต่างและประตู คือ เอาไว้ป้องกันการโจรกรรม เพราะช่องเปิดต่างๆ รอบบ้านที่ทำไว้ก็เพื่อใช้เป็นช่องระบายถ่ายเทอากาศภายในบ้านออกสู่ภายนอก หากติดตั้งเหล็กดัดตามรูปแบบที่เราต้องการแล้ว หากเกิดเหตุฉุกเฉินจะสามารถหลบหนีออกจากบ้านได้สะดวกหรือไม่ ปกติเหล็กดัดที่ติดตั้งนี้ จะต้องมีอยู่ช่องหนึ่งที่ไม่ใช่เหล็กดัดติดตาย คือ จะเป็นบานเปิดปิดได้ และถูกล็อคด้วยแม่กุญแจ ฉะนั้นพึงระลึกไว้เสมอว่าตำแหน่งที่เก็บลูกกุญแจเพื่อเปิดช่องเหล็กดัดออกเจ้าของบ้านจะต้องสามารถหยิบได้สะดวกเมื่อเกิดเหตุฉุกเฉิน

     ปัจจุบันก็มีวัสดุอื่นเพื่อมาทดแทนการติดเหล็กดัดเหล่านี้แล้ว ไม่ว่าจะเป็นการใช้กระจกนิรภัยลามิเนตโดยติดฟิลม์ชนิดป้องกันการโจรกรรมไว้ตรงกลางกระจก ซึ่งจะทำให้โจรผู้ร้ายทุบกระจกเข้ามาก่อเหตุโจรกรรมได้ยากขึ้น ซึ่งหากเทียบกับการติดตั้งเหล็กดัดแล้ว โจรผู้ร้ายยังก่อเหตุโจรกรรมได้ยากกว่าการติดตั้งเหล็กดัดเสียอีก

     หรืออีกทางเลือกหนึ่งคือ การติดตั้งระบบสัญญาณกันขโมยก็สามารถช่วยได้เช่นกัน ไม่ว่าจะเป็นตัวจับสัญญาณการสั่นสะเทือนบริเวณช่องเปิดต่างๆ หรือตัวจับสัญญาณหากมีการเปิดบานประตูหน้าต่าง หรือตัวจับสัญญาณหากมีการเคลื่อนไหวเกิดขึ้น หรืออุปกรณ์กล้องวงจรปิด (CCTV) ล้วนเป็นเทคโนโลยีที่สามารถนำมาใช้ทดแทนการติดตั้งเหล็กดัดได้เช่นกัน


ที่มา: วารสาร TPA News ผู้เขียน นิพนธ์ ลักขณาอดิศร

ที่มาภาพ: http://kathu.olxthailand.com/iid-37693112

view