สร้างเว็บEngine by iGetWeb.com
Cart รายการสินค้า (0)

วิธีเลือกซื้อเครื่องปรับอากาศฉบับชาวบ้าน

วิธีเลือกซื้อเครื่องปรับอากาศฉบับชาวบ้าน

     ก่อนที่จะเข้าเรื่องเครื่องปรับอากาศนั้น ผมขออธิบายความหมายของคำาศัพท์ที่หลายๆ ท่านพูด หรือเคยได้ยินมาเมื่อต้องการซื้อเครื่องปรับอากาศ แต่อาจจะยังไม่รู้ความหมายที่ถูกต้อง เพื่อจะได้ทำาความเข้าใจไปพร้อมๆ กัน ดังนี้ครับ

     1) BTU มักเรียกทับศัพท์กันไปเลยว่าบีทียู ซึ่งย่อมาจาก British Thermal Unit เป็นหน่วยความร้อนโดย 1BTU เป็นปริมาณความร้อนที่ทำาให้นำ้าที่มีนำ้าหนัก 1 ปอนด์ (0.45 กก.) มีอุณหภูมิเพิ่ม
ขึ้น 1 องศาฟาเรนไฮต์ (0.56 องศาเซลเซียส) ในเวลา 1 ชม. ซึ่งใช้เป็นหน่วยวัดขนาดของเครื่องปรับอากาศ ค่า BTU ยิ่งสูงเครื่องปรับอากาศก็ยิ่งมีกำลังในการทำาความเย็นมาก

     2) ตันความเย็น มักจะได้ยินเรียกสั้นๆ ว่า “ตัน” เป็นหน่วยความร้อนเช่นกัน โดย 1 ตันเป็นปริมาณความร้อนแฝงที่ใช้ในการเปลี่ยนสถานะจากนำ้าแข็งนำ้าหนัก 1 ตันกลายเป็นของเหลวในเวลา 1 ชม. หน่วยตัน ความเย็นก็ใช้เป็นหน่วยวัดขนาดของเครื่องปรับอากาศเช่นกัน เป็นหน่วยที่นิยมใช้เมื่อสมัยก่อน แต่ปัจจุบันนิยมใช้หน่วย BTU กันมากกว่า ค่าตันความเย็นยิ่งสูงเครื่องปรับอากาศก็ยิ่งมีกำาลังในการทำาความเย็นมาก เราสามารถแปลงหน่วยตันเป็น BTU ได้โดย หน่วย 1 ตันความเย็น = 12,000 BTU

     3) EER (Energy Efficiency Ratio) เป็นค่าประสิทธิภาพในการใช้พลังงาน เป็นตัวชี้วัดว่าเครื่องปรับอากาศแต่ละเครื่องว่าประสิทธิภาพในการทำาความเย็นดีมากน้อยอย่างไร โดยเป็นค่าอัตราส่วนของภาระในการทำาความเย็น (BTU/ชม.) ต่อพลังงานไฟฟ้าที่ป้อนให้กับเครื่องปรับอากาศ (วัตต์) สังเกตว่าเป็นการเปรียบเทียบความสามารถในการทำาความเย็นต่อพลังงานไฟฟ้าที่ใช้ไปนั่นเอง (Output/Input) แสดงว่าค่า EER ยิ่งมากเครื่องปรับอากาศเครื่องนั้น ก็ยิ่งมีประสิทธิภาพในการทำาความเย็นยิ่งดี (ประหยัดไฟฟ้า)

     4) CFM (Cubic Foot per Minute) เป็นหน่วยอัตราการส่งลมเย็นที่ปล่อยออกมาจาก Fan coil มีหน่วยเป็นลูกบาศก์ฟุตต่อนาที ค่ายิ่งมาก แสดงว่าลมยิ่งแรง (มีความสามารถปล่อยลมออกมาได้จำานวนปริมาตรมากใน 1 หน่วยเวลา) ค่า CFM นี้จะแปรผันโดยตรงกับภาระในการทำาความเย็นของเครื่องปรับอากาศ (ลมแรงก็ทำาความเย็นได้ดีกว่า)

     เมื่อคิดจะทำกำรซื้อเครื่องปรับอำกำศสิ่งที่ต้องคำนึงถึงในเบื้องต้นเลย คือ

     1) ขนาดของเครื่องปรับอากาศ เราจำาเป็นจะต้องหาขนาดของเครื่องปรับอากาศที่เหมาะสมกับขนาดของพื้นที่ในการใช้งานของเราเพื่อภาวะอากาศที่เย็นสบาย ความคงทนในการใช้งานของเครื่องปรับอากาศและปัญหาอื่นๆ อันจะส่งผลต่อเงินในกระเป๋าที่จะตามมา หากเลือกเครื่องปรับอากาศที่มีขนาดใหญ่เกินไป นอกจากจะเสียเงินซื้อเครื่องปรับอากาศที่แพงเกินความจำาเป็นแล้ว เมื่อนำามาใช้งานระบบปรับอากาศจะมีการตัดต่อการทำางานของคอมเพรสเซอร์บ่อยมีผลต่อประสิทธิภาพในการทำาความเย็นลดลง สิ้นเปลืองพลังงาน การควบคุมความชื้นภายในห้องก็ไม่ดี ทำาให้ไม่เกิดภาวะน่าสบาย แต่หากเลือกขนาดเครื่องปรับอากาศที่มีขนาดเล็กจนเกินไป ก็จะมี
ปัญหาเรื่องไม่สามารถทำาอุณหภูมิห้องให้เย็นตามที่ควรจะเป็น อีกทั้งคอมเพรสเซอร์ก็ทำงานหนักจนเกินไปเพราะต้องทำางานตลอดเวลาที่เปิดเครื่องปรับอากาศอันจะมีผลต่ออายุการใช้งานของเครื่องปรับอากาศสั้นลง
     การคำานวณหาขนาดของเครื่องปรับอากาศของวิศวกรนั้น คำนึงถึงปัจจัยต่างๆ ที่มีผลต่อการถ่ายเทความร้อนเข้ามาในห้องมากมาย เช่น ขนาดและตำาแหน่งของช่องเปิดต่างๆ ภายในห้อง (หน้าต่าง ช่องแสง ประตู ฯลฯ) และคำานึงถึงทิศทางการแผ่ความร้อนจากพระอาทิตย์ด้วย (ทิศตะวันออก-ทิศตะวันตก) เพื่อต้องการหาสภาวะที่เครื่องปรับอากาศรับภาระการทำาความเย็นสูงสุดในการเลือกขนาดเครื่องปรับอากาศ เช่น ห้องที่มีหน้าต่างในทิศตะวันตกภาระทำาความเย็นสูงสุดจะเกิดขึ้นในช่วงบ่ายจนถึงเย็น เป็นต้น เพราะความร้อนจากแสงแดดจะแผ่เข้ามาภายในห้องผ่านทางหน้าต่างสูงสุด ในช่วงเวลานั้น เป็นผลให้เครื่องปรับอากาศต้องรับภาระหนักที่สุดในช่วง
นั้นนั่นเอง ซึ่งส่วนตัวผมเห็นว่ายุ่งยากเกินไปสำาหรับผู้ใช้งานตามบ้านทั่วไปอย่างเรา ผมจึงแนะนำาเป็นสูตรสำาเร็จง่ายๆ สำาหรับใช้งานตามบ้านทั่วไปซึ่งก็น่าจะเพียงพอแล้ว โดยให้คิดปริมาตรอากาศภายในห้อง เพื่อประเมินขนาดของเครื่องปรับอากาศ โดยปริมาตรห้อง 2.75 ลบ.ม. ต่อ 800 BTU

     ยกตัวอย่างเช่น

ตัวอย่าง 1 ห้องขนาด 4X5 ม. มีความสูงของฝ้าเพดาน 2.6 ม. ต้องการหาขนาดเครื่องปรับอากาศที่เหมาะสม ทำาได้โดย

     หาปริมาตรห้องได้โดย = ความกว้าง X ความยาว X ความสูง = 4 X 5 X 2.6 = 52 ลบ.ม.
     หาขนาดเครื่องปรับอากาศโดยอ้างอิงปริมาตรห้อง 2.75 ลบ.ม. ต่อ 800 บีทียู จะได้ = 52 / 2.75 X 800 = 15,127 BTU

ตัวอย่าง 2 ห้องขนาด 4X5 ม. มีความสูงของฝ้าเพดาน 3.5 ม. ต้องการหาขนาดเครื่องปรับอากาศที่เหมาะสม ทำาได้โดย
     หาปริมาตรห้องได้โดย = ความกว้าง X ความยาว X ความสูง = 4 X 5 X 3.5 = 70 ลบ.ม.
     คิดเป็นขนาดเครื่องปรับอากาศได้ 70 / 2.75 X 800 = 20,364 BTU

     จากทั้ง 2 ตัวอย่างข้างต้นนี้ จะเห็นว่าไม่เพียงแต่ขนาดพื้นที่ของห้องเท่านั้นที่มีผลต่อขนาดเครื่องปรับอากาศ ความสูงของฝ้าเพดานก็มีผลด้วยเช่นกัน ฉะนั้นหากเราต้องการห้องที่มีความสูงของฝ้าเพดานมากๆ จะต้องใช้เครื่องปรับอากาศขนาดมากขึ้นตามไปด้วย แม้ว่าจะมีขนาดพื้นที่ห้องเท่ากันก็ตามที


ที่มา: วารสาร TPA News ผู้เขียน นิพนธ์ ลักขณาอดิศร

รูปภาพ: http://www.ล้างแอร์ติดตั้งแอร์.com

view