สร้างเว็บEngine by iGetWeb.com
Cart รายการสินค้า (0)

ประเภทของกระจก

ประเภทของกระจก

ประเภทของกระจก

จำแนกประเภทของกระจกตามกระบวนการผลิตด้วยกรรมวิธีต่าง ๆ เพื่อ ตอบสนองการใช้งานที่แตกต่างกันได้ ดังนี้

1. กระจกธรรมดา (Float Glass)

2. กระจกอบความร้อน (Heat Treated Glass)

3. กระจกเคลือบผิว หรือกระจกสะท้อนแสง (Surface Coated Glass)

4. กระจกดัดแปลง

5. กระจกอื่นๆ

 

กระจกธรรมดา (Float Glass)

     กระจกธรรมดาเป็นกระจกพื้นฐานที่เกิดขึ้นจาก กระบวนการผลิตโดยตรง แบ่งออกเป็น 2 ชนิดได้แก่ กระจกใส และกระจกสี ซึ่งมี รายละเอียดและข้อพิจารณาในการนำไปใช้งาน ดังนี้

  • กระจกใส (Clear Glass) คือ กระจกโปร่งแสงที่สามารถมองผ่านได้อย่างชัดเจนและให้ภาพสะท้อนที่สมบูรณ์ไม่บิดเบี้ยว กระจกชนิดนี้จะยอมให้แสงผ่านประมาณ 75-92 % ของแสงที่ตกกระทบซึ่งขึ้นอยู่กับความหนาของกระจก กระจกใสยังเป็นกระจกพื้นฐานสำหรับนำไปผลิตเป็นกระจกประเภทต่างๆ เช่น กระจก นิรภัยเทมเปอร์ กระจกนิรภัยหลายชั้น กระจกฉนวนกันความร้อนและกระจก เคลือบผิว เป็นต้น ทั้งนี้คุณภาพของกระจกเหล่านี้จะขึ้นอยู่กับคุณภาพของกระจกใสที่นำมาผลิตด้วย
  • กระจกสี (Tinted Glass) กระจกสีหรือกระจกดูดกลืนความร้อน (Heat Absorbing Glass) ผลิตขึ้นโดยการผสมโลหะออกไซด์เข้าไปในส่วนผสม (Batch Mix) ในขั้นตอนการผลิตกระจกทำให้กระจกมีสีสัน รวมถึงคุณสมบัติในการดูดกลืนความร้อนจากแสงอาทิตย์ที่ส่องมากระทบผิวกระจกและลดปริมาณแสงที่ผ่านกระจก ปริมาณแสงที่จะทะลุผ่านกระจกสีขึ้นอยู่กับความเข้มของสี ความหนาและสีของกระจก

 

กระจกอบความร้อน (Heat Treated Glass)

     กระจกอบความร้อนเป็นกระจกใส หรือกระจกที่นำไปผ่านกระบวนการปรับแต่งคุณภาพของเนื้อกระจก เพื่อให้มีความ แข็งแกร่งมากขึ้น หรือรับแรงกระทำจากภายนอกได้มากขึ้น แบ่งออกเป็น 2 ชนิด ดังนี้

  • กระจกนิรภัยเทมเปอร์ (Tempered Glass) กระจกนิรภัยเทมเปอร์เป็นการนำกระจกไปผ่านกระบวนการเทมเปอริง (Tempering) เพื่อเพิ่มความแข็งแรง โดยใช้หลักการเดียวกับการทำคอนกรีต อัดแรง (Prestressed Concrete) คือการสร้างให้เกิดชั้นของแรงอัด (Compressive Stress) ขึ้นที่ผิวแก้วเพื่อต้านแรงจากภายนอกวิธีการนี้ทำได้ โดยการให้ความร้อนกับกระจกที่อุณหภูมิสูงกว่าจุดอ่อนตัว (Softening Point) ของแก้วเล็กน้อยที่ประมาณ 650-700 องศาเซลเซียส และทำให้ผิวกระจกเกิด การเย็นตัวอย่างรวดเร็ว โดยการใช้ลมเย็นเป่า (Air Quenching) ผลของความ แตกต่างของอุณหภูมิระหว่างผิวนอกกับส่วนกลางของแผ่นกระจกจะทำให้เกิด เป็นชั้นของแรงอัดขึ้นที่ผิวนอกของแผ่นกระจกทั้ง 2 ด้าน โดยจะประกบชั้น ส่วนกลางเหมือนลักษณะแซนด์วิช (Sandwich) และชั้นที่ผิวนี้จะช่วยต้านแรง จากภายนอกทำให้กระจกที่ผ่านกระบวนการเทมเปอริงแล้วมีความแข็งแรง เพิ่มขึ้นประมาณ 4 เท่า อย่างไรก็ตามก่อนกระบวนการเทมเปอริง จะต้องตัดกระจกให้ได้ขนาดที่ต้องการก่อน เพราะถ้าตัดหลังจากการผ่านกระบวนการ เทมเปอริงแล้วกระจกจะแตกละเอียดหมดทั้งแผ่น
  • กระจกฮีตสเตรงเทน (Heat Strengthen Glass) เป็นกระจกที่ได้จากกระบวนการผลิตที่คล้ายกับ กระจกนิรภัยเทมเปอร์คือ ให้ความร้อนกับกระจก แล้วปล่อยให้กระจกเย็นตัวลง แต่ต่างจากกระจกนิรภัยเทมเปอร์ตรงที่การผลิตฮีตสเตรงเทนจะปล่อยให้ กระจกเย็นตัวลงอย่างช้าๆ จึงทำให้มีความแข็งแรงน้อยกว่ากระจกนิรภัยเทมเปอร์ ในการใช้งานจึงต้องพิจารณาถึงข้อจำกัดในเรื่องความแข็งแรงของกระจกด้วย

 
กระจกเคลือบผิว (Surface Coated Glass)

     กระจกเคลือบผิวเป็นกระจกธรรมดา ที่นำไปผ่านกระบวนการเคลือบโลหะบนผิวกระจกเพื่อให้เกิดการสะท้อนแสงและ ความร้อนจากแสงอาทิตย์สำหรับนำไปใช้งานในด้านการประหยัดพลังงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ ตลอดจนมีความสวยงามมากขึ้น กระจกเคลือบผิวแบ่งตามรูปแบบ ของการเคลือบผิว 2 ชนิด ได้แก่

 

1. แบ่งตามชื่อบริษัทผู้ผลิตเครื่องเคลือบผิวกระจกที่ใช้ในเมืองไทยได้ 2 แบบ ดังนี้

  1. แบบแอร์โค่ (AIRCO) เป็นวิธีการเคลือบโดยใช้ไทเทเนียมบริสุทธิ์ (Ti) เป็นโลหะหลักในการเคลือบ สามารถเคลือบให้ได้สีสัน ภาพลักษณ์ และคุณสมบัติในการประหยัดพลังงานที่แตกต่างกันตามชื่อรหัสการเคลือบต่างๆ ดังนี้ TE - Titanium Earth, TS - Steel Blue, SS - Silver, TBU - Blue
  2. แบบเลย์โบลด์ (LEYBOLD) เป็นวิธีการเคลือบโดยใช้ดีบุกบริสุทธิ์ (Sn) เป็นโลหะหลักในการเคลือบ โดยมีคุณสมบัติในการประหยัดพลังงาน ใกล้เคียงกับแบบแอร์โค่แต่ให้สีสันที่แตกต่างไปจากแบบแอร์โค่ ตามชื่อ รหัสการเคลือบต่างๆ ดังต่อไปนี้ SL - Silver, AS - Antique Silver, BR - Bronze, SB - Sapphire Blue

2. แบ่งตามเทคนิคในการเคลือบผิวกระจกได้ 2 แบบ ดังนี้

  1.  การเคลือบแบบสูญญากาศ (Vacuum Deposition or Soft Coating) โดยการพ่นโลหะออกไซด์บางชนิดบนผิวด้านใดด้านหนึ่งของแผ่น กระจก กระแสไฟฟ้าจะทำปฏิกิริยาทำให้โลหะเกาะบนผิวกระจก การ เคลือบด้วยวิธีการนี้สารที่เคลือบจะถูกขูดขีดออกได้ง่าย แต่สารที่ เคลือบกระจกสามารถเคลือบไปทุกอณูของผิวกระจก กระจกที่ผ่านการ เคลือบโลหะออกไซด์แล้วจะนำมาผ่านกระบวนการเทมเปอริงหรือ ฮีตสเตรงเทนไม่ได้ เนื่องจากความร้อนในกระบวนการเทมเปอริงหรือ ฮีตสเตรงเทนจะทำลายโลหะออกไซด์ที่เคลือบ
  2. การเคลือบแบบไพโรลิทิค (Pyrolitic Deposition or Hard Coating) กรรมวิธีนี้กระจกจะถูกเคลือบในขณะที่กระจกยังอยู่ในลักษณะที่เป็น ของเหลว โลหะออกไซด์จะกระจายแทรกซึมลงในเนื้อกระจกด้วย แม้ วิธีนี้โลหะออกไซด์ไม่สามารถกระจากไปทุกพื้นผิวของกระจกอย่าง สม่ำเสมอกัน แต่ก็สามารถทำให้กระจกที่เคลือบแบบไพโรลิทิคมีความแข็งแรงทนทานกว่ากระจกที่เคลือบแบบสุญญากาศ

 

กระจกสะท้อนรังสีอาทิตย์ (Solar Reflective Glass) กระจกสะท้อนรังสีอาทิตย์เป็นกระจกธรรมดาที่เคลือบผิวด้วยโลหะออกไซด์ ซึ่งมีคุณสมบัติด้านการสะท้อนแสง ทำให้สามารถสะท้อนพลังงานจาก แสงอาทิตย์ที่แผ่รังสีได้บางส่วน มีค่าการสะท้อนแสงค่อนข้างสูง ความโปร่งแสงค่อนข้างน้อย มีสีสันสวยงามหลายสีที่แตกต่างกันขึ้นอยู่กับรูปแบบการเคลือบ และสีของกระจกที่เป็นวัตถุดิบที่นำมาเคลือบ

 

กระจกที่มีสภาพการแผ่รังสีต่ำ (Low-E Glass) กระจกที่มีสภาพการแผ่รังสีต่ำเป็นกระจกเคลือบสารโลหะโดยมีโลหะเงินบริสุทธิ์เป็นองค์ประกอบสำคัญเพื่อให้ได้ผิวเคลือบที่มีค่าการคายรังสี (Emissivity) ที่ต่ำมาก โดยที่กระจกยังคงมีลักษณะใส ไม่ทึบแสง ให้ค่าแสงส่งผ่านมาก และมีค่าการสะท้อนแสงน้อย หมายความว่ากระจกนั้นมีความสามารถในการแผ่รังสีความร้อนออกจากผิวกระจกน้อยมาก ทำให้กระจกชนิดนี้ถูกนำไปใช้ทำเป็นกระจกฉนวนกันความร้อนได้เป็นอย่างดี โดยยอมให้รังสีคลื่นสั้นจากดวงอาทิตย์ (Short Wave Radiation) ผ่านเข้ามาในตัวอาคาร ในขณะที่สะท้อนรังสีคลื่นยาวหรือรังสีความร้อน (Long Wave Radiation) ออกพอสมควร ซึ่งจะไปลดการสะสมความร้อนในอาคาร ทำให้ประหยัดพลังงานไฟฟ้าในการทำความเย็นให้กับอาคาร ในการเคลือบกระจกที่มีสภาพการแผ่รังสีต่ำสามารถเคลือบได้ทั้งกรรมวิธี เคลือบแบบสูญญากาศและเคลือบแบบไพโรลิทิค

 
กระจกดัดแปลง

     กระจกดัดแปลงเป็นกระจกที่นำมาดัดแปลงด้วยกระบวนการ (Process) ต่างๆ เพื่อตอบสนองการใช้งานที่แตกต่างกันออกไป ได้แก่

  • กระจกฉนวนกันความร้อน (Insulated Glass) ในการนำกระจกมาดัดแปลงด้วยกระบวนการต่างๆ เพื่อใช้เป็นกระจกฉนวนกันความร้อนมีองค์ประกอบในการพิจารณา คือ ความสามารถที่จะเป็นฉนวน กันอุณหภูมิที่แตกต่างกันระหว่างกระจกทั้ง 2 ด้าน ซึ่งถูกคั่นโดยอากาศแห้ง เนื่องจากอากาศแห้งซึ่งบรรจุอยู่ในช่องว่างระหว่างกระจกเกิดจากการดูดความชื้นของสารดูดความชื้น (Desiccant) ในตัวขอบอลูมิเนียม อากาศแห้งที่ทำหน้าที่ ป้องกันการถ่ายเทความร้อนจากอุณหภูมิที่เกิดขึ้นด้านใดด้านหนึ่งของกระจก จากการทดลองพบว่าเมื่ออุณหภูมิสูงขึ้นจะไม่มีผลกระทบต่อความสามารถในการเป็น ฉนวนของอากาศแห้ง แต่ในทางกลับกัน ถ้าอุณหภูมิต่ำกว่า 20 องศาฟาร์เรนไฮต์ (ประมาณลบ 7 องศาเซลเซียส) จะมีผลทำให้สารดูดความชื้นไม่สามารถทำหน้าที่ ได้อย่างสมบูรณ์ ทำให้เกิดฝ้าหรือแนวน้ำภายในช่องอากาศแห้ง ดังนั้นผู้ออกแบบ จะต้องพิจารณาถึงสภาพอากาศ ซึ่งจะมีผลต่อความสามารถในการดูดความชื้นของ สารดูดความชื้นในกระจกฉนวนกันความร้อนให้เหมาะสมด้วย กระจกฉนวนกันความร้อนผลิตโดยการนำกระจกอย่างน้อย 2 แผ่น ตัดให้ได้ขนาดตามความต้องการมาประกบกัน โดยมีอลูมิเนียมซึ่งบรรจุสารดูดความชื้น คั่นกลาง หลังจากนั้นปิดรอยที่ขอบกระจก ผลก็คือ อากาศภายในช่องระหว่าง กระจกจะกลายเป็นอากาศที่แห้งไม่มีความชื้นเหลืออยู่ ซึ่งมีคุณสมบัติในการกันความร้อน
  • กระจกฮีตมิเรอร์ (Heat Mirror) ลักษณะของกระจกฮีตมิเรอร์เป็นระบบของกระจกสองชั้น (Double Glazing) ที่เคลือบสารที่มีสภาพการแผ่รังสีต่ำทั้ง 2 ด้านของฟิล์มที่อยู่ระหว่างช่องว่างอากาศ โดยที่ช่องว่างอากาศทั้งสองข้างจะกลายเป็นช่องว่างอากาศสะท้อนรังสี (Reflective Air Space) ซึ่งจะทำให้ค่าการถ่ายเทความร้อนรวมของกระจกชนิดนี้ (U-Value) อาจมีค่าต่ำถึง 1.4 วัตต์/ตารางเมตร.เคลวิน (0.25 บีทียู/ตารางฟุต.ชั่วโมง.องศา ฟาร์เรนไฮต์)
  • กระจกฮีตสต็อป (Heat Stop) กระจกฮีตสต็อปมีลักษณะเป็นกระจกสองชั้น ประกอบขึ้นด้วยกระจก สะท้อนแสงที่เคลือบด้วยสารที่มีสภาพการแผ่รังสีต่ำเป็นกระจกด้านนอก และ กระจกด้านในใช้กระจกใส สารที่เคลือบนั้นสามารถป้องกันความร้อนอินฟราเรด (Infrared) ให้ผ่านเข้ามาเพียง 5% ช่องว่างตรงกลางใส่ก๊าซอาร์กอน ซึ่งเป็นก๊าซ เฉื่อยมีคุณสมบัติในการนำความร้อนต่ำ ทำให้กระจกชนิดนี้มีค่าการถ่ายเทความ ร้อนรวมต่ำ โดยแสงผ่านกระจกชนิดนี้เข้ามาประมาณ 60%
  • กระจกนิรภัยหลายชั้น (Laminated Glass) กระจกนิรภัยหลายชั้น เป็นกระจกที่ผลิตขึ้นด้วยวัตถุประสงค์เพื่อให้ความ ปลอดภัยแก่ผู้ใช้โดยการนำกระจกตั้งแต่ 2 แผ่นขึ้นไปมาผนึกเข้าด้วยกัน โดยมี แผ่นฟิล์มโพลีไวนิลบิวทิเรต (Polyvinyl Butyrate; PVB) ที่เหนียวและแข็งแรงซ้อน อยู่ระหว่างกลางทำหน้าที่ยึดกระจกให้ติดกันเมื่อกระจกชนิดนี้ถูกกระแทกจนแตก แผ่นฟิล์มโพลีไวนิลบิวทิเรตจะช่วยยึดไม่ให้เศษกระจกหลุดกระจายจะมีเพียงรอบ แตกหรือร้าวคล้ายใยแมงมุมเท่านั้น กระจกนิรภัยหลายชั้นเป็นกระจกที่ให้ความปลอดภัยสูง นิยมใช้เป็นกระจกบังลมของรถยนต์ หน้าต่างอาคารสูงหรือกระจกกัน กระสุน เป็นต้น

 

กระจกอื่น ๆ

     นอกจากกระจกทั้ง 4 ประเภทข้างต้นที่ได้กล่าวมาแล้ว ยังมีการผลิต กระจกชนิดอื่น ๆ อีกมากมายเพื่อวัตถุประสงค์ในการใช้งานที่แตกต่างกันไป เช่น กระจกเงา (Mirror) กระจกลวดลาย (Pattern Glass) กระจกเสริมลวด (Wired Glass)

ที่มา: www.enconlab.com

view