สร้างเว็บEngine by iGetWeb.com
Cart รายการสินค้า (0)

วัสดุอุดรอยต่อ part 3

วัสดุอุดรอยต่อ part 3

     2) โพลียูริเทน (Polyurethane) มักเรียกกันสั้นๆ ว่าพียู (PU) เป็นวัสดุประเภทพลาสติกเทอร์โมเซต คือ ไม่สามารถหลอมเหลวขึ้นรูปใหม่ได้ ถูกผลิตขึ้นเพื่อใช้ทดแทนยางธรรมชาติใช้น้ำมันเป็นตัวทำละลายเป็นสารประกอบอินทรีย์ (Organic Based) เมื่อนำไปเผาไฟจะมีควันดำ โพลียูริเทนที่นำมาใช้ในงานอุดรอยต่อจะเป็นประเภทโฟมยืดหยุ่นบรรจุอยู่ในหลอด คุณสมบัติของโพลียูริเทน คือ มีความยืดหยุ่นปานกลาง มีความคงทนต่อสภาพแวดล้อมได้ปานกลาง สามารถขัดแต่งผิวงานและทาสีทับได้ สามารถใช้กับวัสดุทั้งผิวเรียบและผิวขรุขระ สามารถยึดติดกับผิวที่มีฝุ่นเกาะได้ ราคาแพงกว่าอะคริลิคอยู่พอสมควร ด้วยเหตุที่โพลิยูริเทนมีคุณสมบัติโดดเด่นตรงที่สามารถใช้งานบริเวณผิวที่มีฝุ่นเกาะได้ดี เช่น ผิวคอนกรีตและยังสามารถทาสีทับได้ จึงเหมาะกับงานอุดรอยต่อ precast concrete ภายนอก แต่ก็มีจุดอ่อนตรงที่มีความคงทนต่อรังสี UV ในระดับปานกลาง ราคาแพงกว่าอะคริลิคแต่ถูกกว่าซิลิโคน ที่นำมาขายในบ้านเรามักจะใช้บรรจุภัณฑ์เป็นแผ่นฟอยด์หุ้มขนาด 600 ml ดูคล้ายๆ ไส้กรอก ช่างจึงมักเรียก PU ว่า “ไส้กรอก”

     3) ซิลิโคน (Silicone sealant) เป็นวัสดุอุดรอยต่อที่ทำมาจากวัสดุโพลิเมอร์ มีองค์ประกอบหลัก คือ ซิลิกอน คาร์บอน ไฮโดรเจน ออกซิเจน เป็นสารประกอบอนินทรีย์ (Inorrganic Based) มีลักษณะเป็นของกึ่งเหลวมีความยืดหยุ่นสูง คุณสมบัติของซิลิโคน คือ มีความยืดหยุ่นสูงและคงทนต่อรังสี UV ได้ดี แต่จุดที่แตกต่างกับอะคริลิกและโพลียูริเทนอย่างชัดเจน คือ ไม่สามารถทาสีทับได้ ด้วยความที่มีคุณสมบัติอื่นๆ ที่สำคัญสูงกว่าอะคริลิก และโพลิยูริเทน ซิลิโคนจึงถูกเลือกใช้ในงานที่ต้องการความคงทนต่อสภาพแวดล้อมมากกว่า แต่ซิลิโคนมีจุดอ่อน คือ ไม่เหมาะกับการติดตั้งบริเวณผิววัสดุที่มีฝุ่นเกาะ เพราะจะทำให้ซิลิโคนไม่ทำหน้าที่ประสานระหว่างวัสดุตัวจบแต่จะไปจับกับฝุ่นแทน ทำให้ไม่สามารถยึดเกาะกับผิววัสดุได้ จุดอ่อนอีกข้อที่สำคัญ คือ วัสดุบางประเภทที่มีปฏิกิริยากับกรดก็จะไม่สามารถใช้งานกับซิลิโคนที่มีฤทธิ์เป็นกรดได้เพราะจะไป


ตารางสรุปคุณสมบัติวัสดุอุดรอยต่อ

ที่มา: นิพนธ์ ลักขณาอดิศร

view